วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ภาพประกอบ

ภาพประกอบ

1

8

12

ที่มา : http://www.kiitdoo.com//22-ภาพ-สังคมก้มหน้า/

วิธีแก้ปัญหา

วิธีแก้ปัญหา

      ให้ผู้ปกครองวางกติกาในการใช้โทรศัพท์  ปลูกจิตสำนึก และเตือนใจอยู่เสมอว่าต้องแบ่งเวลาไปทำอย่างอื่นบ้าง

สุขภาพกายในทางลบเมื่อใช้โทรศัพท์มากจนเกินไป

สุขภาพกายในทางลบเมื่อใช้โทรศัพท์มากจนเกินไป

              ทำให้รู้สึกเศร้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่สามารถควบคุมสภาพจิตใจตนเองได้ หงุดหงิดกังวลใจกับเรื่องเล็กน้อย ทำงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายเสร็จไม่ทัน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง เบื่อหน่ายท้อแท้ กับการดำเนินชีวิต รวมไปถึงพฤติกรรม ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอยู่ในขณะนี้คือ เซลฟี่ ขี้อิจฉา ซึมเศร้าได้แก่ ทำให้รู้สึกเศร้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่สามารถควบคุมสภาพจิตใจตนเองได้ หงุดหงิดกังวลใจกับเรื่องเล็กน้อย ทำงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายเสร็จไม่ทัน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง เบื่อหน่ายท้อแท้ กับการดำเนินชีวิต รวมไปถึงพฤติกรรม ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอยู่ในขณะนี้คือ เซลฟี่ ขี้อิจฉา ซึมเศร้า

วีดีโอประกอบเกี่ยวกับสังคมก้มหน้า

วีดีโอประกอบเกี่ยวกับสังคมก้มหน้า



ผลเสียของการใช้โทรศัพท์

ผลเสียของการใช้โทรศัพท์

             ในปัจจุบันเด็กและเยาวชนที่ยังไม่มีวุฒิภาวะ และผู้ปกครองไม่ชี้แนะ หรือควบคุมการใช้งานอย่างจริงจัง ก็จะส่งผลกระทบทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต

ผลดีของการใช้โทรศัพท์

ผลดีของการใช้โทรศัพท์

             สร้างความสะดวกในการสื่อสาร สามารถส่งได้ทั้งภาพและเสียง อีกทั้งประหยัดไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์  ทำให้มีเพื่อนใหม่เพิ่มขึ้น เข้าใจและพอใจกับชีวิตของตนเอง มีความสุขกับสิ่งที่ทำแต่ละวัน สามารถจัดการปัญหาต่างๆ ให้สำเร็จ มีความมุ่งมั่นในการทำภารกิจต่างๆ รู้สึกสนุก เพลิดเพลินใจ

ผลการวิจัยการใช้โทรศัพท์

ผลการวิจัยการใช้โทรศัพท์

              ล่าสุดพบว่า วัยรุ่นร้อยละ 51 ตื่นมาเล่นทันที อีกร้อยละ 35 เล่นก่อนนอนทุกวัน   เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วผู้ปกครองควรวางกติกาการเล่นให้กับเด็ก ทั้งกำหนดเวลาในการเล่น ไม่ให้มีการใช้โทรศัพท์ในช่วงเวลาไม่เหมาะสม

การวิเคราะห์ของบริษัท Quantified Impressions

การวิเคราะห์ของบริษัท Quantified Impressions

           ระบุว่าคนเรามักสบตากัน 30 - 60 % ของเวลาที่ใช้ในการสนทนา แต่ข้อแนะนำคือ ควรเพิ่มการสบตาให้มากขึ้นเป็น 60 - 70 % เพื่อสร้างความรู้สึกเชื่อมต่อด้านอารมณ์หรืออารมณ์ร่วมให้เกิดขึ้น แต่ปัญหาหนึ่งของเรื่องนี้คือการมีอุปกรณ์มือถือใช้งานและการทำงานหลายอย่างไปพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะในคนกลุ่มหนุ่มสาวในสังคมก้มหน้า ซึ่งทำให้ต้องใช้สายตาจับที่หน้าจอแทนที่จะสบตากับคู่สนทนา
         
          อย่างไรก็ตามนักจิตวิทยาเตือนว่าการก้มหน้าลงตรวจอุปกรณ์มือถืออยู่เป็นประจำอาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า บุคคลนั้นไม่พอใจกับชีวิตหรือความสัมพันธ์ที่ตนมีอยู่ กับผู้อื่น ทำให้ต้องคอยตรวจสอบความเคลื่อนไหวในเครือข่ายของตนอยู่เป็นประจำเพื่อดูว่าตนได้พลาดโอกาสทางสังคมเรื่องใดไปบ้าง


          ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การสบตากับผู้อื่นระหว่างการสนทนาช่วยแสดงถึงความมั่นใจและการให้ความเคารพต่อผู้อื่น และการสบตาจะให้ผลดีที่สุดหากใช้เวลานานราว 7-10 วินาทีกับคู่สนทนาแบบตัวต่อตัว และ 3-5 วินาทีสำหรับการสนทนาแบบเป็นกลุ่ม

สังคมก้มหน้า


สังคมก้มหน้า

      photo4ปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ มีความเจริญก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีบนโลกใบนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในระดับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสังคมระดับครอบครัว แวดวงเพื่อนฝูง หรือแม้กระทั่งสังคมในที่ทำงาน ซึ่งจะเห็นได้จากการเสพติดโทรศัพท์ประเภทสมาร์ทโฟน ไอแพด ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แค่เพียงปลายนิ้ว จนกระทั่งเทคโนโลยีเหล่านี้กลายเป็นปัจจัยที่ 6 นอกเหนือจากปัจจัย 4 ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั่วไป ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค รวมทั้งรถยนต์หรือยานพาหนะต่างๆ ซึ่งกลายมาเป็นปัจจัยที่ 5 ที่จำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิต

      ที่กล่าวมานั้นจะเห็นได้ว่า สมาร์ทโฟนทั้งหลายได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่หรือคนทั่วโลกไปแล้ว จะเห็นได้จากกลุ่มคนทุกวัยตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน ไปจนถึงผู้สูงวัยทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วจะต้องเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนอย่างน้อย 1 เครื่อง ผลกระทบที่ตามมาจากการที่ทุกคนให้ความสำคัญกับสมาร์ทโฟนเหล่านี้ก็คือ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมระดับต่างๆ ลดลงไปจนถึงขั้นย่ำแย่

      เนื่องจากสมาร์ทโฟน ได้ดึงความสนใจจากสิ่งต่างๆ รอบตัวไปจนหมด ทุกคนต่างก้มหน้าก้มตาเสียเวลาไปกับสิ่งนี้ จนทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนรอบข้าง ไม่มีใครสนใจใคร จนกลายเป็น “สังคมก้มหน้า” ที่เราได้ยินกันจนคุ้นหูและเห็นภาพเหล่านี้จนชินตา นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย ได้แก่ การเกิดปัญหานิ้วล็อค อาการปวดหลังหรือต้นคอ เนื่องจากการก้มเป็นเวลานาน ปัญหาทางสายตาที่เกิดจากการเพ่งมองมากเกินไป หรือทางด้านจิตใจ คือ ก่อให้เกิดความหมกมุ่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป จนก่อให้เกิดปัญหาในการสื่อสาร เป็นต้น

      จากปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะสามารถคลี่คลายได้หากผู้ใช้รู้จักใช้อย่างมีสติและรู้เท่าทันเทคโนโลยี เพียงเท่านี้ปัญหา “สังคมก้มหน้า” ก็จะหมดไป

ผลกระทบ

 ผลกระทบ

   
      1)  มีผลทำให้เราใจร้อน คาดหวังผลเร็วขึ้น อารมณ์หงุดหงิดง่าย
                  แต่เดิมในยุคที่เราสื่อสารด้วยการ ส่งจดหมายติดแสตมป์ต้องใช้เวลาเป็นหลักวัน กว่าที่จะสื่อสารกันได้หากว่าเป็นข้ามทวีปด้วยแล้วเป็นหลักสัปดาห์ทีเดียว  แต่ปัจจุบันส่งอีเมลข้ามทวีปไปแล้วหากมองนาฬิกาแล้วคิดว่า อีกฝ่ายน่าจะต้องตื่นแล้ว และไม่ตอบมาในทันที อีกฝ่ายก็รู้สึกขุ่นมัวแล้วว่าอีกฝ่ายหายไปไหน ทำไมไม่ตอบ เพราะมีสมมุติฐานเบื้องต้นว่า โลกหมุนเร็วแล้วทุกคนต้องเร็วเท่ากัน พอเกิดความคาดหวังแล้วไม่สมหวัง ก็เกิดอารมณ์ขุ่นมัว และบ่อย ๆ ครั้งก็ไม่รู้ว่า นั่นคือการเกิดโทสะขึ้นมาแล้ว เก็บความคับข้องใจกลายเป็นอารมณ์ต่อไปอีก
          2) ขาดสติ ขาดความรู้ตัวทั่วพร้อม จนอาจจะก่อเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
                 นอกเหนือไปจากนี้ การที่สังคมเราเป็น สังคมก้มหน้า” ใจลอย จิตไปจดจ่ออยู่กับเนื้อหา คอนเทนต์” บนหน้าจอสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต จนไม่เหลือปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก ทั้ง ๆ ที่บางทีอยู่ในภาวะที่จำเป็นต้องระมัดระวังตัว เช่น การข้ามถนน หรือขับรถอยู่บนทางด่วน นั้นเป็นสิ่งที่สะท้อนจิตใจแบบใด ความรู้ตัวทั่วพร้อมยังอยู่ครบดีหรือไม่ หรือว่าจิตใจเราลอยไปอยู่กับสิ่งอื่นและไม่สามารถที่จะควบคุมด้วยตนเองได้อีกต่อไปแล้ว